“แนวปฏิบัติที่ดี”“สร้างโอกาสการเรียนรู้สู่อาชีพ”

“แนวปฏิบัติที่ดี”“สร้างโอกาสการเรียนรู้สู่อาชีพ”
  
            แนวปฏิบัติที่ดี ด้านการส่งเสริมอาชีพ เรื่อง สร้างโอกาสการเรียนรู้สู่อาชีพ เป็นการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ที่โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตามวัตถุประสงค์ที่ 2 ด้านการขยายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมตามความถนัดและความสนใจ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพในอนาคต
          การจัดการศึกษาเพื่อ สร้างโอกาสการเรียนรู้สู่อาชีพ มีผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่บริการมีโอกาสและได้รับการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมและหลากหลายและมีทักษะพื้นฐานทางอาชีพตามความถนัดและความสนใจเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพในอนาคตและในขณะที่เรียนมีรายได้ระหว่างเรียนสามารถพึ่งตนเองได้ ผู้ปกครองและชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่เป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ความสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดี
กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาที่จะต้องพัฒนากำลังคนให้มีขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันบนเวทีโลกจึงได้มีแผนการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ (พ.ศ. 2558 – 2564) มีแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของชาติ(พ.ศ.2557) ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาคนอย่างยั่งยืนและจากแนวโน้มการปฏิรูปการศึกษาในหลายประเทศได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับ “ทักษะ” (Skill) หรือความชำนาญในการปฏิบัติมากยิ่งกว่าเนื้อหาตามตำรา(Content) ซึ่งองค์การยูเนสโกได้แนะนำว่า ผู้เรียนควรมีทักษะที่ครอบคลุม 3 กลุ่ม ได้แก่ ทักษะพื้นฐาน คือ ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อ่านออก  เขียนได้ คิดเลขเป็น ทักษะเพื่อการทำงาน คือ ทักษะพื้นฐานในการทำงานของทุกอาชีพ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ การคิดวิเคราะห์การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และทักษะเฉพาะอาชีพ คือ ทักษะเบื้องต้นของอาชีพที่สนใจ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในทุกระดับชั้น ให้ตระหนักถึงความสำคัญและเตรียมความพร้อมด้านวิชาชีพให้ผู้เรียนทุกระดับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นภาพงานอาชีพต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สำรวจความสนใจ ความถนัด และมองเห็นเส้นทางชีวิตในอนาคต เพื่อวางแผนในการศึกษาต่อ หรือเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพ และได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมคนให้มีทักษะและศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านทักษะฝีมือ ด้านร่างกายและจิตใจ ด้านลักษณะนิสัยในการทำงานให้สามารถก้าวสู่โลกการศึกษาและอาชีพได้อย่างมีคุณภาพตามความต้องการในการพัฒนาประเทศสู่ประชาคมอาเซียน
          โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ เป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร เป็นโรงเรียนประจำพักนอน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าต่างๆ จำนวน ๗ ชนเผ่า ผู้ปกครองนักเรียนประกอบอาชีพเกษตร มีฐานะยากจนไม่นิยมให้บุตรหลานเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อีกทั้งเด็กนักเรียนบางคนประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจต้องออกโรงเรียนกลางคันและจากการประเมินความถนัดทางด้านอาชีพของนักเรียนพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะพื้นฐานในการทำงาน จากสภาวะปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียนจึงได้ตระหนักถึงการที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้านวิชาชีพให้กับนักเรียนด้วยการจัดการศึกษาที่มีหลักสูตรอย่างหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ ตอบสนองความถนัดและความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง ตลาดแรงงาน เหมาะสมกับบริบทและสภาพพื้นที่ของโรงเรียน
จุดประสงค์/เป้าหมายของการดำเนินงาน
1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่บริการมีโอกาสและได้รับการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมและหลากหลาย
2. เพื่อให้นักเรียนและเยาวชนมีทักษะพื้นฐานทางอาชีพตามความถนัดและความสนใจเพื่อเป็นพื้นฐานใน
การศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพในอนาคต
3. เพื่อให้นักเรียนและเยาวชนมีรายได้ระหว่างเรียน


เป้าหมายของการดำเนินงาน
เป้าหมายเชิงปริมาณ
-นักเรียนร้อยละ 100ในเขตพื้นที่บริการมีโอกาสและได้รับการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมหลากหลาย และมีรายได้ระหว่างเรียน
-นักเรียนร้อยละ 70 มีรายได้ระหว่างเรียน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
-นักเรียนร้อยละ 95 มีทักษะพื้นฐานทางอาชีพตามความถนัดและความสนใจเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพในอนาคต
 
นโยบายของรัฐบาล                                                                                    สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงศึกษาธิการ  (สอศ.  สพฐ.  วิทยาลัยอาชีวศึกษา  โรงเรียน)                                การเข้าสู่สมาคมอาเซียน , แนวโน้มอุตสาหกรรม, การตลาด,ตลาดแรงงาน ฯลฯ
หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
 
รูปแบบการจัดการศึกษาในการส่งเสริมอาชีพของโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
 
Input
Ÿ นโยบายรัฐบาล
Ÿ ความต้องการตลาดแรงงาน
Ÿ ความต้องการภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
Ÿ ความต้องการภาคการศึกษา
Ÿ ความต้องการภาคท้องถิ่น/ชุมชน
Ÿทรัพยากร 4 M
Ÿแนวโน้ว AEC
 
Process
                                                                                               
1 พัฒนาหลักสูตรและสื่อการสอน
2. ประเมินความถนัดของผู้เรียน
Output
Ÿพนักงานกิจการ
ŸOutsource
Ÿ Free lance
Ÿผู้ประกอบการ
Outcome
Ÿบูรณาการเศรษฐกิจกับการศึกษา
Ÿ พัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค
Ÿ อุตสาหกรรมเติบโต
Ÿ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน
Ÿ ประชาชน/ชุมชน/ท้องถิ่นมีรายได้/ค่าตอบแทนและคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม:  อุตสาหกรรมรถยนต์ , อุตสาหกรรมโรงงานเครื่องจักกล ,บริษัท,  ธุรกิจร้านค้า
ภาคการศึกษา:  โรงเรียน แหล่งฝึกงาน สถานประกอบการ  กิจการร้านค้า
ประชาชน/ชุมชน/ท้องถิ่น: ประชาชน เยาวชน ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน
3. จัดการเรียน
การสอน
4. บ่มเพาะและพัฒนาอาชีพ
5. ตรวจสอบและพัฒนา
Ÿสร้างเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาหลักสูตร
กับวิทยาลัยการอาชีพปัว ,วิทยาลัยเทคนิคน่าน และ รร.เครือข่ายดรุณสิกขา
Ÿ พัฒนาหลักสูตรและสื่อการสอนเชิงบูรณาการกับกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง
Ÿ สร้างเครือข่ายความร่วมมือบ่มเพาะและพัฒนาอาชีพกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
 
Ÿสำรวจความต้องการของผู้เรียน
Ÿสร้างระบบวัดและประเมินความถนัด
Ÿ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน
Ÿ ทำ Road Map สู่เป้าหมายอาชีพ
Ÿ วางแผนการเรียนการสอนตาม RoadMap
Ÿ สร้างระบบบริหารและสนับสนุน
Ÿ จัดการเรียนการสอนตาม  Road Map
-ทวิศึกษา
-หลักสูตรระยะสั้น
-บูรณาการใน ศ.21
-งานเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Ÿ สร้างความเข้าใจการทำงานที่สัมพันธ์กับชีวิตดีมีความสุข
Ÿ เรียนรู้องค์รวมของอุตสาหกรรม/ธุรกิจ/อาชีพด้านการเกษตร
Ÿ สอนการเขียนแผนธุรกิจ
Ÿ ส่งเสริมวิสัยทัศน์สู่ชีวิตของผู้ประกอบการ
Ÿพัฒนาอาชีพสู่อาเซียน
Ÿเตรียมการเป็นพนักงานกิจการ,Outsource, Freelance
และผู้ประกอบการ
Ÿก่อตั้งบริษัท,ร้านค้า
Ÿ ดำเนินธุรกิจจริงในโรงเรียน/นอกสถานที่
 
Ÿประเมินการเรียนรู้ ประเมินหลักสูตร
Ÿ ปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน
Ÿตรวจสอบความพึงพอใจ
Ÿ พัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ
Ÿ ประเมินผลธุรกิจ
Ÿ ปรับปรุงธุรกิจ
Ÿ เสริมสมรรถนะผู้ประกอบการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
ผลการดำเนินงาน
ผลที่เกิดจากเด็กและเยาวชน
  1. นักเรียนได้รับการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมหลากหลาย โดยโรงเรียนมีหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนที่โรงเรียนเปิดสอนให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะอาชีพตั้งแต่ปี 2558-2559ดังนี้
ปีการศึกษา หลักสูตรที่เปิดสอน ระดับชั้นที่เรียน
 
 
 
2558
  1. หลักสูตรงานเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชั้น ม.1-6
  1. หลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการในศตวรรษที่ 21
  2. การจัดการโฮมสเตย์
 
ชั้น ม.1-2
ชั้น ม.4-5
  1. หลักสูตรระยะสั้น
นักเรียนหอพักประจำบ้านไกล
  1. หลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย(ทวิศึกษา)
 
ชั้น ม.4-6
 
 
2559
  1. หลักสูตรงานเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชั้น ม.1-6
  1. หลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการในศตวรรษที่ 21
 
ชั้น ม.4-5
  1. หลักสูตรระยะสั้น
นักเรียนหอพักประจำบ้านไกล
  1. หลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย(ทวิศึกษา)
 
ชั้น ม.4-6
  1. การเรียนการสอนหลักสูตรหลักสูตรงานเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการในศตวรรษที่ 21 และหลักสูตรระยะสั้นนักเรียนจะนำผลผลิตที่ได้ส่งต่อเข้าระบบสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนจัดส่งตามตามสถานที่ราชการที่มีการสั่งสินค้า  ส่งจำหน่ายตามร้านค้า  สถานประกอบการ     โฮมสเตย์ และตลาดการค้าชายแดนทำให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน
  1. จำนวนนักเรียนหลักสูตรทวิศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในปีการศึกษา2558มีนักเรียนที่เรียนหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายแบบทวิศึกษา จำนวน 61คน คิดเป็นร้อยละ 34.07ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมดและที่จบ ในปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนที่เรียนหลักสูตรทวิศึกษา จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 51.66 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด
ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่เรียนหลักสูตรทวิศึกษาตั้งแต่ปี 2557-2559
ปี 2557 ปี 2558
  • 2559
ร้อยละ (คิดเทียบนักเรียน ม.ปลายในปีนั้น)
 
  1. นักเรียนมีอัตราการศึกษาต่อสู่งขึ้น โดยในปีการศึกษา 2558 นักเรียนจบการศึกษาทั้งหมด 60 คน มีนักเรียนศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีร้อยละ 41.66 ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงร้อยละ 28.34  ศึกษาต่อสถาบันบริบาล 8.33 และประกอบอาชีพ ร้อยละ 21.67  โดยนักเรียนที่เรียนทวิศึกษาได้รับวุฒิการศึกษา2 วุฒิ คือ วุฒิการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วุฒิ ม.6) และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรเรียนทวิศึกษา และในจำนวนนักเรียน 14 คน ได้ศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 11 คน และศึกษานักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาต่อมีงานทำตามสาขาวิชาชีพที่ตนเรียนมา
ตารางแสดงข้อมูลการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558
การศึกษาต่อ จำนวน (คน) คิดเป็นร้อยละ
จำนวนนักเรียนที่จบการศึกษาทั้งหมด 60 100
ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี 25 41.66
ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 17 28.34
ศึกษาต่อสถาบันการบริบาล 5 8.33
ประกอบอาชีพ 13 21.67
 
ผลที่เกิดกับชุมชน
          นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในโรงเรียนไปปฏิบัติในการดำรงชีวิตของของตนเองและครอบครัวของตนเอง ทำให้ชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาที่เป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
  1. ปัจจัยความสำเร็จ
1.มีการขับเคลื่อนในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับอาชีวศึกษาสู่การมีอาชีพปัจจัยความสำเร็จเกิดโดยความร่วมมือของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองชุมชนร่วมทั้งความร่วมมือกับสถานประกอบกร วิทยาลัยการอาชีพปัว วิทยาลัยเทคนิคน่าน วิทยากรในชุมชน ที่เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนในหลายด้าน เช่น หลักสูตรทวิศึกษา หลักสูตรระยะสั้น บุคลากร วิทยากร ในการจัดการเรียนการสอน การอบรม การส่งเสริมอาชีพ และทรัพยากรเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนและเยาวชน
2. มีเครือข่ายการประสาน สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินการให้สถานศึกษามีทำข้อตกลงร่วมกัน(MOU) เพื่อประสาน การใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เอื้ออำนวยด้านวิชาการ ด้านการศึกษาต่อและการมีงานทำ มีเครือข่ายกับสถานประกอบการ ร้านค้าอย่างกว้างขวาง
3.มีการประกันคุณภาพภายในการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานและการตรวจสอบประเมินผลอย่างเป็นระบบ
การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/และความภาคภูมิใจ
  1. โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศดีเด่นการประกวดนิทรรศการการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตร ระดับภาค
  2. นักเรียนมีอัตราการศึกษาต่อที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาต่อในสายอาชีพ และนักเรียนที่จบการศึกษาแม้ไม่ได้ศึกษาต่อก็มีทักษะในการทำงานและออกไปสู่ตลาดแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. โรงเรียนได้เป็นโรงเรียนต้นแบบและทดลองใช้หลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายแบบทวิศึกษา โดยมีเลขาธิการการศึกษาอาชีวศึกษา (สอศ.)มาติดตามผลเป็นระยะและพบว่าการจัดการศึกษาได้ผลดี
ปัญหาอุปสรรค
การเดินทางมาสอนของวิทยากรจากวิทยาลัยการอาชีพปัว ค่อนข้างลำบากและครูที่สอนไม่เพียงพอเนื่องจากโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีจำนวนนักเรียนที่มากขึ้น และวิทยากรจากวิทยาลัยเทคนิคน่านไม่สามารถขึ้นมาสอนได้
ข้อเสนอแนะ
          บางรายวิชาในสาขาช่างยนต์จัดให้ครูในโรงเรียนช่วยสอน และในสาขาคหกรรม มีการจัดให้ครูของโรงเรียนเป็นผู้สอนโดยใช้หลักสูตรจากวิทยาลัยเทคนิคน่าน
แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง
เพิ่มทักษะวิชาชีพให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อให้มีความหลากหลายและจัดทักษะอาชีพให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น


เอกสารอ้างอิง
  1. http://www.dailynews.co.th/education/264460         2.ภาพกิจกรรม
^