แนวปฏิบัติที่ดี การแปรรูปผลมัลเบอร์รี่ งาขี้ม้อนและลูกต๋าว”

โรงเรียน มัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ
หมู่บ้าน  ห้วยโก๋น   ตำบล  ห้วยโก๋น
อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ   จังหวัด   น่าน  รหัสไปรษณีย์  ๕๕๑๓๐
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๗
โทรศัพท์ ๐๕๔-๖๙๓๕๓๓  โทรศัพท์สาร ๐๕๔-๖๙๓๕๓๓ 
เว็บไซต์ www.mpcs.ac.th
ชื่อ-สกุล ผู้เสนอผลงาน  ๑. นางธิดา  เสมอใจ                  โทรศัพท์มือถือ ๐๘๗-๑๘๐๓๗๓๑
                            ๒. นางสาวอัมพร สินสวัสดิ์          โทรศัพท์มือถือ ๐๘๖-๓๗๐๖๙๔๘
                            ๓. นายภานุเดช  เอกจิต             โทรศัพท์มือถือ ๐๘๘-๒๒๔๙๙๔๐
                            ๔. นางสาวนภัสกร  ม่วงมา                   โทรศัพท์มือถือ ๐๖๑-๓๒๐๙๑๗๐
 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ เป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร ผู้ปกครองนักเรียนประกอบอาชีพเกษตร   มีฐานะยากจนไม่นิยมให้บุตรหลานเรียนต่อในระดับสูง นักเรียนบางคนประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจต้องออกโรงเรียนกลางคัน นักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะพื้นฐานในการทำงาน จากสภาวะปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียนจึงได้ตระหนักถึงการที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้านวิชาชีพให้กับนักเรียนด้วยการจัดการศึกษาที่มีหลักสูตรที่รองรับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ตลาดแรงงาน เหมาะสมกับบริบทและสภาพพื้นที่ของโรงเรียนตลอดจนสามารถช่วยเหลือชุมชนได้ด้วยในเวลาเดียวกัน
“การแปรรูปผลมัลเบอร์รี่ งาขี้ม้อนและลูกต๋าว” จัดทำขึ้นเพื่อปลูกฝังหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้เรียน เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง และปลูกฝังค่านิยมการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติสุข รักถิ่นฐานบ้านเกิดและมีจิตสาธารณะต่อชุมชน
ผลจากการจัดกิจกรรมตาม“โครงการแปรรูปผลมัลเบอร์รี่ งาขี้ม้อนและลูกต๋าว” ปรากฏว่า กิจกรรมการเรียนการสอนดังกล่าว  ช่วยส่งเสริมและฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียน สามารถบูรณาการความรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจริง บรรเทาและช่วยเหลือชุมชนในเรื่องของสินค้าทางการเกษตรที่ล้นตลาด การดำเนินงานประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากชุมชน และหน่วยงานต่างๆ จนได้เป็นรับเชิญไปเป็นตัวแทนนำเสนอผลงานในระดับจังหวัดและระดับชาติ
ความสำคัญของผลงาน
 
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในทุกระดับชั้น ให้ตระหนักถึงความสำคัญและเตรียมความพร้อมด้านวิชาชีพให้ผู้เรียนทุกระดับการศึกษา โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สำรวจความสนใจ ความถนัด และมองเห็นเส้นทางชีวิตในอนาคต เพื่อวางแผนในการศึกษาต่อ หรือเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพ และได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมคนให้มีทักษะและศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านทักษะฝีมือ ด้านร่างกายและจิตใจ ด้านลักษณะนิสัยในการทำงาน ให้สามารถก้าวสู่โลกการศึกษาและอาชีพได้อย่างมีคุณภาพตามความต้องการในการพัฒนาประเทศสู่ประชาคมอาเซียน
          โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ เป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและทุรกันดาร เป็นโรงเรียนประจำพักนอน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชนเผ่า ผู้ปกครองนักเรียนประกอบอาชีพเกษตร มีฐานะยากจนไม่นิยมให้บุตรหลานเรียนต่อในระดับสูง นักเรียนบางคนประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจต้องออกโรงเรียนกลางคัน และจากการประเมินความถนัดทางด้านอาชีพของนักเรียนพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะพื้นฐานในการทำงาน จากสภาวะปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียนจึงได้ตระหนักถึงการที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้านวิชาชีพให้กับนักเรียนด้วยการจัดการศึกษาที่มีหลักสูตรอย่างหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ ตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง ตลาดแรงงาน เหมาะสมกับบริบทและสภาพพื้นที่ของโรงเรียน
          จากการศึกษาโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ของอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดน่าน ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผลมัลเบอร์รี่ (ผลหม่อน) และงาขี้ม้อนเป็นจำนวนมากรวมทั้งยังมีลูกต๋าว (ลูกชิด) ซึ่งที่เป็นพืชที่ขึ้นตามป่าที่มีความชื้นสูง หรือตามริมแม่น้ำลำธารและพบมากในป่าเขตจังหวัดน่าน พืชท้องถิ่นเหล่านี้ในฤดูกาลเก็บเกี่ยวมีราคาตกต่ำ ไม่มีตลาดรองรับ แต่จากการศึกษาเอกสารทางวิชาการทำให้ทราบว่า ผลมัลเบอร์รี่ (ผลหม่อน) มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสและแบคทเรีย ส่วนงาขี้ม้อนเป็นพืชท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมกา-๓  และลูกต๋าว (ลูกชิด) สามารถนำลูกอ่อนมาประกอบเป็นอาหารหวานได้ ดังนั้น โรงเรียนจึงได้ส่งเสริมให้นักเรียนนำ    ผลมัลเบอร์รี่ (ผลหม่อน) และงาขี้ม้อนและลูกต๋าว (ลูกชิด) มาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและสามารถเก็บรักษาในระยะเวลานานได้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถจำหน่ายได้จริง มีรายได้จริง โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้ทั้งกระบวนการและการปฏิบัติจริง จนชำนาญแล้วสามารถเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนได้
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำผลผลิตในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
  2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานทางอาชีพตามความถนัดและความสนใจเพื่อเป็นพื้นฐานใน 
    การศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพในอนาคต
  3. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมายของการดำเนินการ
  • เชิงปริมาณ 
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และ ๕ จำนวน ๙๐ คน ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลมัลเบอร์รี่ งาขี้ม้อนและลูกต๋าว
  • เชิงคุณภาพ
นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง มีทักษะด้านอาชีพ
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม มีจิตสำนึกรักบ้านเกิดและมีจิตสาธารณะต่อชุมชน
สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน: สำรวจสภาพปัญหาและบริบทของชุมชน
สำรวจ ศึกษาสภาพปัญหา บริบทของโรงเรียนและชุมชน  ผลผลิตทางการเกษตรและความต้องการของชุมชน
กระบวนการดำเนินการ
 
  1. นักเรียนได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
  2.  นักเรียนได้ฝึกทักษะอาชีพด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตในชุมชนและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
  3. นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น บูรณาการความรู้เผยแพร่สู่ชุมชน มีจิตสาธารณะต่อชุมชน

การเผยแพร่
  1. การเผยแพร่การจัดกิจกรรมผ่านทางเว็บไซต์ www.mpcs.ac.th ของโรงเรียน
  2. ร่วมจัดนิทรรศการเผยแพร่กิจกรรมในงานออกหน่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน              ในวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ณ ที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
  3. ร่วมจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอผลงาน บริษัทสร้างการดี  ระดับภูมิภาค (โครงการเรียนสุจริต) ระหว่าง วันที่ ๒๑-๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ โรงเรียนเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
  4. ร่วมจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้นำเสนอผลงาน  บริษัทสร้างการดี  ระดับชาติ  (โครงการเรียนสุจริต) ระหว่าง วันที่ ๒-๕  กันยายน พ.ศ.  ๒๕๖๐  ณ โรงเรียนเอวาน่า กรุงเทพมหานคร
 
ปัจจัยความสำเร็จ
  1. นักเรียนรักการเรียนรู้  มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติกิจกรรม
  2. คณะครูและบุคลากรในโรงเรียนร่วมกันขับเคลื่อนและอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม
  3. ผู้บริหารให้การสนับสนุนให้คำปรึกษา ขับเคลื่อนกิจกรรม ส่งเสริมให้กำลังใจ
  4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้ด้านภูมิปัญญาให้กับโรงเรียน
  5. สภาพแวดล้อมและบริบทของชุมชนเอื้อต่อการจัดกิจกรรม
  6. มีหน่วยงานของรัฐ เอกชนและองค์กรส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุน เช่น
และที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สนับสนุนงบประมาณและครุภัณฑ์ในโครงการพัฒนาพื้นที่แบบบูรณาการตามทางแผนภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริ ตามปีงบประมาณ ๒๕๕๙-๒๕๖๑
-องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโก๋น สนับสนุนจัดสรรพื้นที่สำหรับจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของนักเรียน ณ ตลาดชายแดนห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
-วิทยาลัยเทคนิคน่าน สนับสนุนดูแลด้านหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนและนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน
  • Thungchang Coffee Hab    อำเภอทุ่งช้าง และร้านกาแฟภูพยัคฆ์ สาขาอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
 
ปัญหาและอุปสรรค
  1. นักเรียนบางคนขาดความประณีตในการทำงานบางครั้งอาจทำให้สินค้ามีการชำรุดเสียหาย
  2. ระบบการขนส่งผลิตภัณฑ์สู่ชุมชนในตัวเมืองยังมีปัญหาในเรื่องของการสินค้าล่าช้า เนื่องจากระยะทางจากโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ ถึง จังหวัดน่าน เป็นระยะทาง ๑๔๐กิโลเมตร
ข้อเสนอแนะ
  1. ในช่วงแรกของการเรียนการสอนที่นักเรียนยังไม่มีความชำนาญ ครูผู้สอนต้องคอยให้คำชี้แนะและดูแลอย่างใกล้ชิด
  2. จัดระบบการกระจายสินค้าให้มีคุณภาพและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อต่างๆให้มากขึ้น
แนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  1. ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. ปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแปลกใหม่ หลากหลายและคงมาตรฐานให้มีคุณภาพ
  3. มีโครงการหรือกิจกรรมในการขยายความรู้สู่ชุมชนมากขึ้นและเชิญชวนให้ชุมชนจัดตั้งกลุ่มผลิตสินค้าร่วมกัน
  4. ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และจัดหาตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น สำหรับรองรับผลิตภัณฑ์ของนักเรียนและชุมชน

เอกสารอ้างอิง


สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
           กระทรวงศึกษาธิการ.(๒๕๕๘).แนวทางการจัดการศึกษาโครงการจัดการเรียนการสอนด้าน
           พาณิชยกรรม สาขาธรกิจค้าปลีก.กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตร.
สำนักบริหารงานมัธยมศึกษาตอนปลายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
           กระทรวงศึกษาธิการ.(๒๕๕๘).แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เน้น
           สมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ.กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.หลักการทรงงานใน
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพฯ.
นายแพทย์เกษม วัฒนชัย.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความเข้มแข็งในโรงเรียน.กรุงเทพฯ : ธนธัชการ
            พิมพ์จำกัด.
มติชนออนไลน์. “ต๋าว พืชเฉพาะถิ่นนครน่าน หนึ่งของดีแปรรูปได้“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :      www.matichon.co.th.  [๒๔ ธ.ค.๒๐๑๗].



 
^