ชื่อผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี” “คุณธรรมทุกพื้นที่ สร้างคนดีสู่สังคม”

 
ชื่อผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี” “คุณธรรมทุกพื้นที่ สร้างคนดีสู่สังคม”
 
โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ   หมู่บ้านห้วยโก๋น   ตำบลห้วยโก๋น   อำเภอเฉลิม
พระเกียรติ  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  ๕๕๑๓๐  สังกัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๓๗   โทรศัพท์   0-88257-4399    โทรสาร  054-693533 เว็บไซต์  :   www.mpcs.ac.th
ชื่อ-สกุล ผู้เสนอ  นางสาวพรพิชญา   จันโนติ๊บ       โทรศัพท์  0857116316
                   นางสาวรมิดา        จิตไพศาล     โทรศัพท์  0982642919
                   นางสาววงเดือน      อุ่นถิ่น        โทรศัพท์  0882602326
 
บทคัดย่อ
              แนวปฏิบัติที่ดี ด้านที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรม เรื่องคุณธรรมทุกพื้นที่ สร้างคนดีสู่สังคม เป็นการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมของมูลนิธิยุวสถิรคุณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนดอัตลักษณ์ของโครงการ  ซึ่งประกอบด้วย ๓ ด้าน  ได้แก่ พัฒนาครู  พัฒนานักเรียน  และพัฒนาสภาพแวดล้อม โดยใช้กิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม  เป็นวงล้อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน  ซึ่งได้มาจากการค้นหาคุณธรรมเป้าหมายที่ได้มาจากการค้นหาปัญหาเพื่อให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น  จนเกิดเป็นคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน  ๓  ประการ คือ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ  และจิตอาสา    
              โรงเรียนได้นำแนวทางการจัดกิจกรรมของโรงเรียนคุณธรรมมาใช้ในการแก้ปัญหา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ โครงงานโรงเรียนขับเคลื่อนคุณธรรมอัตลักษณ์   1 ห้องเรียน 1 โครงงานคุณธรรม และ 9 โครงงานสานต่อคุณธรรม เพื่อเป็นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนเพื่อให้เกิดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกเพิ่มขึ้นและลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง
ความสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดี
การที่สังคมเราอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขนั้น ผู้คนในสังคมต้องยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดขึ้น ควบคู่กับคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งหากขาดคุณธรรมจริยธรรมแล้ว สังคมอาจเกิดความสับสนวุ่นวายได้ ดังนั้นการสร้างคุณธรรมจริยธรรมในสังคมจึงจำเป็นต้องวางรากฐานให้กับเด็ก ซึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของชาติ ควรได้รับการอบรม บ่มนิสัยและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ตระหนักในปัญหาของสังคม รู้จักอยู่ร่วมกันในสังคม รู้จักเคารพเชื่อฟังกฎหมาย มีคุณธรรมจริยธรรม ยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง อุทิศตนให้กับงานที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม ส่งเสริมให้รู้จักหาความสุขให้แก่ส่วนรวม ขจัดความเห็นแก่ตัว  ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติโดยรวม
ปัญหานักเรียนขาดคุณธรรมจริยธรรม เป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่ก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งอาจเกิดอารมณ์รุนแรง และมีปัญหาในการปรับตัว เนื่องจากการพัฒนาทางร่างกาย และสื่อต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่นักเรียน ทำให้นักเรียนปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ได้พบเห็นจากสื่อเทคโนโลยี ซึ่งทำให้เยาวชนขาดคุณธรรมจริยธรรม ดังนั้น ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการเรียนรู้จึงมุ่งเน้นให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดการเรียนรู้     คู่คุณธรรม ใช้เครือข่ายการศึกษาร่วมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน เสริมสร้างวินัยและสนับสนุนให้นักเรียนประกอบความดี  ซึ่งตรงกับแนวทางปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงพระราชทานไว้ว่า “จะต้องฝึก ต้องสร้างวินัยในตนเองสำหรับควบคุมประคับประคองให้สามารถปฏิบัติความดีได้อย่างเหนียวแน่นตลอดต่อเนื่อง  มิให้ขาดตอนหรือขาดวิ่นลง และต้องมีวินัยเคร่งครัด มีความขยันพากเพียร มีความกล้าหาญอดทน และมีสติยั้งคิดอย่างสูง” (กรมวิชาการ. 2542 :  13 - 17)  ทั้งนี้ ครู อาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักในภาระหน้าที่ ในการอบรมสั่งสอนนักเรียน โดยจะต้องศึกษาหารูปแบบและวิธีการในการปลูกจิตสำนึกให้แก่นักเรียนในด้านความมีวินัย เพราะหากนักเรียนขาดความมีวินัยจะทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียน การปฏิบัติตนในสังคม และการดำรงชีวิตในสังคม หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเป็นภาระของสังคมไปในที่สุด
              โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ ได้สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร  โดยมีการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย  สติปัญญา  ควบคู่กับส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมร่วมกัน  เพื่อให้นักเรียนเติบโตเป็นคนดีในสังคมต่อไป  ทางโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติจึงได้ดำเนินการโดยการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด้วยกิจกรรม  “คุณธรรมทุกพื้นที่ สร้างคนดีสู่สังคม”
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินการ
วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ
  1. เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดลง
  2. เพื่อพัฒนาครู  บุคลากร และนักเรียนให้มีคุณธรรม ตามคุณธรรมอัตลักษณ์
  3. เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรมของนักเรียนด้วยโครงงานคุณธรรม
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง
  2. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก ด้านความมีวินัย  ความรับผิดชอบ และจิตอาสาเพิ่มเพิ่มขึ้น
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง และร่วมมือในการจัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรมในห้องเรียน และภายในโรงเรียนเป็นอย่างดี
กระบวนการดำเนินการ
โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ ได้เริ่มเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณธรรมของมูลนิธิยุวสถิรคุณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนดอัตลักษณ์ของโครงการ  ซึ่งประกอบด้วย ๓ ด้าน  ได้แก่ พัฒนาครู  พัฒนานักเรียน  และพัฒนาสภาพแวดล้อม โดยใช้กิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม  เป็นวงล้อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน  ซึ่งได้มาจากการค้นหาคุณธรรมเป้าหมายที่ได้มาจากการค้นหาปัญหาเพื่อให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น  จนเกิดเป็นคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน  ๓  ประการ คือ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ  และจิตอาสา  โดยมีกระบวนการขับเคลื่อนดังนี้
๑.  ขั้นเตรียมความพร้อมและสร้างความรู้ความเข้าใจ  มีการดำเนินงานดังนี้ 
                   ๑.๑  การอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่คณะครูเพื่อสร้างความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการ                      บริหารสถานศึกษาอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม  กระบวนการ                   ขับเคลื่อนสู่การเป็นโรงเรียนคุณธรรม
                   ๑.๒  การอบรมผู้บริหาร  บุคลากร  และครูแกนนำ
                   ๑.๓  การอบรมนักเรียนแกนนำ  (ครั้งละ ๕ คน) หลักสูตรโครงงานคุณธรรม
                   ๑.๔  การประชุมสร้างความเข้าใจระหว่างโรงเรียน  ผู้ปกครอง  และชุมชน
                   ๑.๕ นำคณะครูและนักเรียน  ศึกษาดูงานโรงเรียนสบปราบพิทยาคม  จังหวัดลำปาง  
                         สถานศึกษาที่เป็นต้นแบบโรงเรียนคุณธรรม
          ๒.  ขั้นดำเนินการพัฒนาเพื่อให้เป็นโรงเรียนคุณธรรม 
                   ๒.๑  คณะครู  บุคลกรทางการศึกษา  และนักเรียนร่วมกำหนดคุณธรรม  อัตลักษณ์                       ซึ่งประกอบด้วยคุณธรรมเป้าหมาย  และพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
                   ๒.๒  นักเรียนดำเนินกิจกรรมชุมนุมโครงงานคุณธรรม  คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน                           คุณธรรม
                   ๒.๓  ครูประจำวิชาและครูที่ปรึกษา  สอดแทรกคุณธรรม  จริยธรรม  ในการจัด
                            กิจกรรมการสอน
                   ๒.๔  คณะครูและนักเรียนร่วมกันพัฒนาและเสริมสร้างวินัยให้นักเรียน
                   ๒.๕  ตัวแทนผู้ปกครองจัดตั้งคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
          ๓.  ขั้นนิเทศแบบกัลยาณมิตร
                   ๓.๑  ผู้บริหาร  คณะครู  และบุคลากรได้รับการนิเทศติดตามเป็นประจำแบบกัลยาณมิตรโดยนิเทศอาสาจากมูลนิธิยุวสถิรคุณ  ซึ่งให้กำลังใจ  ชื่นชม  ให้ข้อเสนอแนะ
                   ๓.๒  ครูที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมพบปะนักเรียนเพื่อพัฒนาโครงงาน  โดยการให้                        โอกาส  ให้คำแนะนำ  ชวนคิด  เรียนรู้ร่วมกันและร่วมสร้างระบบการ                           ประเมินผล โครงงานคุณธรรม
                   ๓.๓  ครูประจำวิชาให้การชื่นชมนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ดี  และให้คำแนะนำกับ                           นักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ 
                   ๓.๔  ครูที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรมและงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกันปรับ                      พฤติกรรมนักเรียนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
                   ๓.๕  คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง  นักเรียน  และตัวแทนครูที่ปรึกษาประชุม                        หลังการปฏิบัติโครงงาน
          ๔.  ขั้นประเมินผลการพัฒนา 
                   ๔.๑  จัดกิจกรรม  กดไลค์  ถูกใจ  โครงงานคุณธรรม  (นำเสนอ๑ห้องเรียน ๑                               โครงงานคุณธรรม )
                   ๔.๒  คณะครู  และบุคลากรทางการศึกษาร่วมประเมินพฤติกรรม  ผู้บริหาร  ครู                          บุคลากรทางการศึกษา  และนักเรียน  ตามคุณธรรมอัตลักษณ์ 
                   ๔.๓  ครูที่ปรึกษาร่วมประเมินคุณค่า  ความรู้  ผลลัพธ์  และผลกระทบ  จากการทำ                       โครงงานคุณธรรม
                   ๔.๔  ครูประจำวิชาประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การอ่านคิดวิเคราะห์  และ                        คุณธรรมจริยธรรมที่เพิ่มขึ้น/ลดลงของนักเรียน
                   ๔.๕  ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  และคณะทำงานโครงงานคุณธรรม  ประเมินผล                         ภาพรวม  รายงานผล  และเสนอแนวทางในการปรับพฤติกรรมนักเรียน
                   ๔.๖  คณะทำงานเครือข่ายผู้ปกครองสะท้อนพฤติกรรมของนักเรียนที่เกิดการ                              เปลี่ยนแปลงทั้งทางบ้านและทางโรงเรียน

ประโยชน์ที่ได้รับและการเผยแพร่

ประโยชน์ที่ได้รับ
  1. นักเรียนนำความรู้  จากการศึกษาสภาพปัญหาลงสู่การปฏิบัติในการดำรงชีวิตของตนเอง  โดยการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานคุณธรรม  เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้พัฒนาชีวิตด้วยวิธีคิดอย่างวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการทางปัญญา โดยสนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น
  2. โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากมูลนิธิสถิรคุณ  ให้เป็นโรงเรียนเครือข่ายคุณธรรม  โดยมีการนิเทศติดตามผลสถานศึกษาคุณธรรม  การดำเนินงานเป็นระยะจากนิเทศอาสาและพบว่าการดำเนินมีผลอยู่ในระดับดี
  3. นักเรียนได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชนคนคุณธรรม  โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร  จังหวัดน่าน
การเผยแพร่
  1. นักเรียนแกนนำคุณธรรม  ได้มีการนำเสนอในงานติดตามเชิงประจักษ์ การดำเนินงานของสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลระบบการช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2560
  2. ครูแกนนำโรงเรียนคุณธรรมได้รับโอกาสในการเข้าร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาจริยคุณโรงเรียนคุณธรรม  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่นำมาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม
  3. นำเสนอกิจกรรม 1 ห้องเรียน 1 โครงงานคุณธรรม เพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาได้รับรู้และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวโครงงานคุณธรรม
  4. เผยแพร่กิจกรรมผ่านเว็บไซต์โรงเรียน 
  5. นำเสนอกิจกรรมโครงงานคุณธรรมในการประชุมผู้ปกครอง
 



ปัจจัยความสำเร็จ
๑.  ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญ  ความมุ่งมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีส่วนในการขับเคลื่อนแนวทางโครงงานคุณธรรม
๒.  ผู้บริหาร  ครู  และบุคลากรทางการศึกษา  นักเรียน  เครือข่ายผู้ปกครอง  มีความร่วมมือ มีการประสานความร่วมมือในการทำงาน  มีจุดหมายเดียวกันในการพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม
๓. การนิเทศติดตามจากคณะครูที่ปรึกษา  นิเทศอาสา  ซึ่งเป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตรที่มีระบบเสริมแรงอย่างสม่ำเสมอ
๔.  การสร้างเครือข่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม ให้มีความต่อเนื่อง
ปัญหา  อุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหา อุปสรรค
  1. ผู้ปกครองมีความกังวลว่านักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจะทำให้ผลการเรียนลดลง
  2. ขาดขวัญและกำลังใจของครูและนักเรียนในการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม
ข้อเสนอแนะ
แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง
  1. เพิ่มความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียนด้านคุณธรรม  โดยการจัดค่าย “ส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม สู่รั้วม.พ.” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  2. การนำแนวทางการจัดกิจกรรม 1 ห้องเรียน 1 โครงงานคุณธรรม  โดยนำไปสู่การพัฒนาต่อในการจัดทำโครงงานคุณธรรมสู่ชุมชน ( 9 โครงงานสานต่อคุณธรรม)
  3. มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหาร นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษาที่เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมโดยการศึกษาดูงานโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบและการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจของครูเพื่อเป็นแกนนำโครงงานคุณธรรมต้นแบบ
 

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ. (2542). แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิมพ์คุรุสภา 
               ลาดพร้าว.
มูลนิธิพรดาบส.  2551.  หนังสือประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส  “คำพ่อสอน”. พิมพ์
              ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ.
ศูนย์คุณธรรม  (องค์กรหมาชน).  2557.  หนังสือการสังเคราะห์องค์ความรู้กระบวนการสร้างโรงเรียน
               ต้นแบบด้านคุณธรรม  จริยธรรม (บางมูลนากโมเดล).  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ.
ศูนย์คุณธรรม  (องค์กรหมาชน).  2558.  การศึกษาสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย.  กรุงเทพฯ.  
 
^