ชื่อผลงาน        ต้นกล้าเยาวชนสู่ป่าชุมชนที่ยั่งยืน

ประเภทที่ ๑     ด้านที่ ๔  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ      อำเภอเฉลิมพระเกียรติ       จังหวัดน่าน

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๗

โทรศัพท์   ๐๕๔-๖๙๓๕๓๓                          ๐๕๔-๖๙๓๕๓๓

เว็ปไซต์   http://mpcs.ac.th

ชื่อ-สกุล  ผู้นำเสนอผลงาน       

    นางสาวชนิตา       ศรีเรือง  โทรศัพท์ ๐๙๓๑๓๐๙๕๗๖ E-mail yimphy@gmail.com

    นางอิสริยาภรณ์    ปรังการ  โทรศัพท์ ๐๙๓๒๖๑๖๘๙๐  E-mail krukluay29@gmail.com

    นางสาวชนัญชิดา   อุปจักร์   โทรศัพท์ ๐๖๑๔๑๕๓๕๓๙  E-mail supansakak@gmail.com

บทคัดย่อ

          แนวปฏิบัติที่ดี ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ต้นกล้าเยาวชนสู่ป่าชุมชนที่ยั่งยืน เป็นการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑.    เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้  ๒. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ๓. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  . เพื่อให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและขยายผลลงสู่ชุมชน  . เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติระหว่างโรงเรียนและชุมชน   กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ ร้อยละ ๘๕ และนักเรียนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีรูปแบบการดำเนินการตาม Model  โรงเรียน ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบ่งเป็น ๓ ด้าน คือ รู้จัก รู้รักษ์ พิทักษ์ป่า โดย ด้านที่ ๑ รู้จัก  ได้แก่ กิจกรรมกล้าเล็กในป่าใหญ่   ด้านที่ ๒ รู้รักษ์ ได้แก่ กิจกรรม ๑  รักษ์  กิจกรรมกลับใจ Story และกิจกรรมจิตอนุรักษ์ และด้านที่ ๓ พิทักษ์ป่า ได้แก่ กิจกรรมร้อยรักษ์สู่ชุมชน

          จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ทางโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติได้สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยการก่อตั้งกลุ่มเยาวชนจิตอาสาพารักษ์ป่าน่านขึ้น  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยนักเรียนได้เรียนรู้จากสภาพปัญหาป่าไม้ในเขตพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ผ่านกิจกรรมกล้าเล็กในป่าใหญ่  แล้วนำไปสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยเริ่มจากตัวนักเรียนก่อนจึงเกิดเป็นกิจกรรม ๑ รักษ์  จากนั้นนักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และขยายผลลงสู่ชุมชนผ่านกิจกรรมกลับใจ Story กิจกรรมจิตอนุรักษ์  ซึ่งทำให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ในกิจกรรมร้อยรักษ์สู่ชุมชน

 

ความสำคัญของวิธีปฏิบัติที่ดี

          จากสถานการณ์ป่าไม้ของจังหวัดน่านในปัจจุบันที่มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฎในรายงานสรุปผลการวิจัยเบื้องต้น การสูญเสียและการฟื้นฟูป่าไม้ในจังหวัดน่านจากข้อมูลของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน พบว่าพื้นที่ป่าถูกบุกรุกและทาลายไปแล้วถึง ๑,๗๔๓,๗๑๖.๔๒ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๘๔ ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด ผลการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า ๘๘๒,๗๖๔ ไร่ หรือร้อยละ ๕๐.๖๓ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้เป็นการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง,๒๕๕๙) และไม่มีการปลูกป่าเพื่อทดแทน ซึ่งในเขตพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรตินั้นนับเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าดังกล่าว  โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีอากาศอบอุ่น พื้นที่ทั้งหมดตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคาและป่าผาแดง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำน่าน ปัจจุบันในเขตพื้นที่นี้นับว่าเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของชาวจังหวัดน่าน  ดังนั้น ทางโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิม พระเกียรติจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ทางโรงเรียนจึงต้องการปลุกจิตสำนึกเพื่อรณรงค์ให้เยาวชนในเขตพื้นที่เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติขึ้น จึงได้จัดตั้งแกนนำจิตอาสาของนักเรียนขึ้นตามโครงการเยาวชนจิตอาสาพารักษ์ป่าน่าน ซึ่งให้เยาวชนในเขตพื้นที่เป็นผู้สร้างจิตสำนึกการรักษาป่าในโรงเรียน และขยายผลลงสู่ชุมชนทั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติขึ้น ทั้งนี้การจัดทำโครงการจะทำต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อให้นักเรียนและคนในชุมชนร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติได้

วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

๑.       เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

๒.       เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

๓.       เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

.       เพื่อให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และขยายผลลงสู่ชุมชน

.       เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติระหว่างโรงเรียนและชุมชน

เป้าหมายของการดำเนินงาน

          เชิงปริมาณ      ครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ ร้อยละ ๘๕

          เชิงคุณภาพ      นักเรียนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  

กระบวนการดำเนินงาน

          กระบวนการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติ เรื่องต้นกล้าเยาวชนสู่ป่าชุมชนที่ยั่งยืน มีรูปแบบการดำเนินการตาม Model  โรงเรียน

M - Management      คือ  การบริหารจัดการ การดำเนินงานโดยการทำงานร่วมกันเป็นทีม ทั้งผู้                          บริหาร  ครู นักเรียนและชุมชน

P - Process               คือ  กระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนโดยอาศัยรูปแบบกระบวนการ                            PDCA  เป็นการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบการทำงานอย่างอย่างมี                                      ประสิทธิภาพ

C - Cooperation       คือ การสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน

S - Success and Share   คือ ความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน และมี                         การนำเสนอผลการเผยแพร่สู่สาธารณะ

โดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้

รู้จัก

กิจกรรม          กล้าเล็กในป่าใหญ่ 

          ครูและนักเรียนแกนนำเยาวชนจิตอาสาพารักษ์ป่าน่าน ศึกษาแหล่งเรียนรู้หน่วยจัดการต้นน้ำ น้ำปาด อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน  โดยมีกิจกรรมรับฟังการบรรยายในหัวข้อ “คืนต้นไม้สู่ป่าใหญ่” โดยเจ้าหน้าที่หน่วยจัดการต้นน้ำ น้ำปาด และกิจกรรมสำรวจพรรณไม้ในป่าต้นน้ำ และศึกษาแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านปิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดน่าน  รับฟังการบรรยายในหัวข้อ “ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั้งยืน” โดยนายคลอย  ชัยชนะ  และกิจกรรมสำรวจป่าชุมชนบ้านปิน

รู้รักษ์

กิจกรรม            รักษ์

          นักเรียนแกนนำเยาวชนจิตอาสาพารักษ์ป่าน่านประชาสัมพันธ์ให้กับนักเรียนทุกคนในโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ๑ คน ๑ ต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโรงเรียน  โดยนักเรียนทุกคนร่วมกันปลูกต้นไม้คนละ ๑ ต้น และนักเรียนทุกคนจะได้รับสมุดบันทึกการเจริญเติบโตของต้นไม้  เพื่อบันทึกข้อมูลพื้นฐานของต้นไม้วันที่ปลูก  การดูแล และการเจริญเติบโตของต้นไม้     

 

กิจกรรม          กลับใจ Story

          กลับใจ Story เป็นชื่อเรื่องหนังสั้นที่กลุ่มนักเรียนแกนนำเยาวชนจิตอาสาพารักษ์ป่าน่านเป็นผู้ดำเนินการจัดทำ  เพื่อนำเสนอแนวคิดด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และถ่ายทอดให้เห็นถึงจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเป็นเรื่องราวของนักเรียนในห้องหนึ่ง ที่แบ่งความคิดเห็นออกเป็นกลุ่มที่จะก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยกลุ่มที่ไม่เห็นความสำคัญยังคงดำเนินตามวิถีชีวิตตามความเของตนเองว่าธรรมชาติไม่ได้มีผลต่อชีวิตพวกเขามากนัก  แต่พอนักเรียนกลุ่มนี้ได้ลองไปดำเนินวิถีชีวิตแบบเดิม ทำให้นักเรียนกลุ่มนั้นเปลี่ยนแนวคิด และมาเข้าร่วมกับนักเรียนที่ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  หลังจากหนังสั้นเสร็จสมบูรณ์ได้มีการนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ  นำเสนอให้นักเรียนครู และชุมชนได้รับชม

กิจกรรม          จิตอนุรักษ์

          นักเรียนแกนนำเยาวชนจิตอาสาพารักษ์ป่าน่านร่วมกันทำสื่อเพื่อใช้ในการรณรงค์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น หนังสือเล่มเล็ก  ป้ายโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์  แผ่นพับ  โดยให้ความรู้นักเรียนหน้าเสาธง การติดโปสเตอร์ตามป้ายนิเทศของแต่ละอาคารเรียน การแจกแผ่นพับรณรงค์ตลาดการค่าชายแดนห้วยโก๋นทุกวันเสาร์

พิทักษ์ป่า

กิจกรรม          ร้อยรักษ์สู่ชุมชน

          ผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนแกนนำเยาวชนจิตอาสาพารักษ์ป่าน่าน ได้ลงพื้นที่ปลูกป่าในชุมชนที่ตำบลห้วยโก๋น ซึ่งมีทั้งหมด ๗ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านปางหก  หมู่บ้านปิน  หมู่บ้านสบปืน  หมู่บ้านห้วยดง  หมู่บ้านใหม่ไชยธงรัตน์ หมู่บ้านห้วยทรายขาว และหมู่บ้านห้วยโก๋น  และได้ทำการบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำหว่างโรงเรียนและชุมชน

ผลการดำเนินงาน

          จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ทางโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติได้สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยการก่อตั้งกลุ่มเยาวชนจิตอาสาพารักษ์ป่าน่านขึ้น  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยนักเรียนได้เรียนรู้จากสภาพปัญหาป่าไม้ในเขตพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ผ่านกิจกรรมกล้าเล็กในป่าใหญ่  แล้วนำไปสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยเริ่มจากตัวนักเรียนก่อนจึงเกิดเป็นกิจกรรม ๑ รักษ์  จากนั้นนักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และขยายผลลงสู่ชุมชนผ่านกิจกรรมกลับใจ Story กิจกรรมจิตอนุรักษ์  ซึ่งทำให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ในกิจกรรมร้อยรักษ์สู่ชุมชน

ประโยชน์ที่ได้รับ

๑.       นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการคืนต้นไม้สู่ป่าใหญ่ และเรียนรู้กับชุมชนในการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน๒.  นักเรียนมีต้นไม้เป็นตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกต้นไม้ การดูแล การรู้จักพรรณไม้ และแนวทางการรักษาต้นไม้ให้คงอยู่

๓.       นักเรียนได้รณรงค์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านสื่อหนังสั้น การทำแผ่นพับรณรงค์ และการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรม

๔.       นักเรียนได้เผยแพร่แนวคิดและแนวทางการปฏิบัติกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลงผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เช่น ในเวปไซต์โรงเรียน http://www.mpcs.ac.th/

๕.       เกิดความร่วมมือกันระหว่างครู นักเรียน และชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนต่อไป

การเผยแพร่

๑.       เผยแพร่ผลงาน ในการประชุมการนำเสนอผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ตำบลผาสิงห์อำเภอเมืองน่าน  จังหวัดน่าน

๒.       ตีพิมพ์ลงวารสาร “รักษ์ป่าน่าน” ครั้งที่ ๓ ในการประชุมสัมมนา “รักษ์ป่าน่าน” ครั้งที่ ๓ วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๐

๓.       ได้เข้าร่วมการจัดนิทรรศการ“รักษ์ป่าน่าน”ครั้งที่ ๓ และเฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ ศูนย์บริการวิชาการเครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ปัจจัยความสำเร็จ

๑.       นักเรียนเกิดความตระหนัก มีจิตอาสาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งในโรงเรียนและชุมชนของตนเอง  นักเรียนเกิดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

๒.       คณะครูและบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินตามกิจกรรม

๓.       ผู้บริหารให้คำปรึกษา และการสนับสนุนการดำเนินงานตามกิจกรรม

๔.       ชุมชนมีส่วนร่วมในการถ่ายความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอยู่ร่วมกับป่าไม้อย่างยั้งยืน  และอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม

๕.       สภาพแวดล้อมและบริบทของชุมชนเอื้อต่อการจัดกิจกรรม

๖.       มีหน่วยงานของรัฐ องค์กรส่วนท้องถิ่น และชุมชนในตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติให้การสนับสนุน เช่น

-หน่วยจัดการต้นน้ำ น้ำปาด อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน สนับสนุนกล้าพันธุ์ไม้เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม

-ชุมชนในหมู่บ้านปางหก  หมู่บ้านปิน หมู่บ้านสบปืน หมู่บ้านใหม่ไชยธงรัตน์ หมู่บ้านห้วยดง หมู่บ้านห้วยทรายขาว และหมู่บ้านห้วยโก๋น อำนวยความสะดวกและมีส่วนร่วมในดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วง

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

๑.       นักเรียนยังไม่เกิดความหวงแหนทรัพยากรทางธรรมชาติของตนเอง

๒.       การปลุกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติยังเป็นเรื่องที่ผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจ

๓.       ในชุมชนยังยึดติดการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม

๔.       การปลูกป่าที่ยั่งยืนต้องเริ่มจากการ “ปลูกป่าในใจคน” ซึ่งต้องมีการใช้เวลาพอสมควร

แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง

๑.       เพิ่มจำนวนกลุ่มแกนนำเยาวชนจิตอาสาพารักษ์ป่าน่าน

๒.       ขยายพื้นที่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำหว่างโรงเรียนและชุมชน และนำต้นไม้เข้าไปปลูกในตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

๓.       เพิ่มพื้นที่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในโรงเรียนและชุมชนให้มากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

๑.                  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : รายงานสรุปผลการวิจัยเบื้องต้น การสูญเสียและการฟื้นฟูป่าไม้ ใน     จังหวัดน่าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙

๒.                  โครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, การประชุมวิชาการ “แนวปฏิบัติที่ดี ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด, ๒๕๕๔

๓.                  ไซมอน การ์ดเนอร์ และคณะ : ต้นไม้เมืองเหนือ : คู่มือศึกษาพรรณไม้ยืนต้นในป่าภาคเหนือประเทศไทย : กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, ๒๕๔๓

๔.                  สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ : คู่มือการเพาะกล้าไม้ท้องถิ่นเพื่อใช้ปลูกเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร : ส่วนศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, กทม. ๒๕๕๙

๕.                  ประภัสสร ยอดสง่า : พรรณไม้ในโครงการ มศว. ตรอน : บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด ๒๕๕๓

๖.             กรมป่าไม้, บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง : พรรณไม้ป่าพื้นบ้านอาหารชุมชน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

๗.             สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) : พระบารมีปกเกล้า ผืนป่าปกแผ่นดิน, บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด(มหาชน) พิมพ์ครั้งที่ ๒ กทม. ๒๕๕๑

 

ภาพกิจกรรม

   

จัดนิทรรศการ“รักษ์ป่าน่าน”ครั้งที่ ๓ และเฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๐

ณ ศูนย์บริการวิชาการเครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

   Description: C:\Users\Administrator\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCacheContent.Word\DSC_0652.jpg     Description: C:\Users\Administrator\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCacheContent.Word\DSC_0738.jpg                    

กิจกรรม กล้าเล็กในป่าใหญ่

ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ หน่วยจัดการต้นน้ำ น้ำปาด และชุมชนบ้านปิน     

Description: C:\Users\Administrator\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCacheContent.Word\15058613_1159767917392557_717932316_n.jpg      Description: C:\Users\Administrator\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCacheContent.Word\15128766_1159348557434493_175859737_n.jpg

กิจกรรม ๑ รักษ์ มีการดูแลรักษาต้นไม้ของตนเองและบันทึกการเจริญเติบโตของต้นไม้

Description: C:\Users\Administrator\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCacheContent.Word\15085532_2129353247288904_8026702959442598214_n.jpg    Description: C:\Users\Administrator\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCacheContent.Word\15110332_1326153940770917_7922791790833039312_o.jpg

กิจกรรม กลับใจ Story เป็นการสะท้อนความคิดของนักเรียนในเชิงอนุรักษ์ออกมาในรูปแบบหนังสั้น

Description: C:\Users\Administrator\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCacheContent.Word\DSC_0362.jpg   

กิจกรรม จิตอนุรักษ์ การรณรงค์เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

     

กิจกรรมร้อยรักษ์สู่ชุมชน มีการนำต้นไม้ปลูกในพื้นที่ป่าชุมชน และบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำหว่างโรงเรียนและชุมชน